การปรับเป็นโรงงานดิจิทัล: โรงงานปั๊มของเคเอสบีใน Pegnitz
หลายบริษัทในโลกอุตสาหกรรมกำลังตกอยู่ในสถานะเดียวกัน คืออยู่ท่ามกลางการปฏิวัติทางดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมทุกสาขา เพื่อที่จะดำรงตำแหน่งผู้บุกเบิกต่อไป เคเอสบีได้นำร่องการปรับให้เป็นดิจิทัลตั้งแต่เนิ่นๆ โดยได้เลือกให้โรงงานปั๊มที่ Pegnitz เป็นโรงงานนำร่องสำหรับโรงงานดิจิทัลอัจฉริยะ การเปลี่ยนแปลงเป็นโรงงานอัจฉริยะกำลังได้รับแรงขับเคลื่อนที่ดีเยี่ยมไปข้างหน้าจากแต่ละ “กรณีใช้งาน” ซึ่งใช้เป็นโมเดลสำหรับโรงงานเคเอสบีและลูกค้าอื่นๆ ทั่วโลก
หลายบริษัทในโลกอุตสาหกรรมกำลังตกอยู่ในสถานะเดียวกัน คืออยู่ท่ามกลางการปฏิวัติทางดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมทุกสาขา เพื่อที่จะดำรงตำแหน่งผู้บุกเบิกต่อไป เคเอสบีได้นำร่องการปรับให้เป็นดิจิทัลตั้งแต่เนิ่นๆ โดยได้เลือกให้โรงงานปั๊มที่ Pegnitz เป็นโรงงานนำร่องสำหรับโรงงานดิจิทัลอัจฉริยะ การเปลี่ยนแปลงเป็นโรงงานอัจฉริยะกำลังได้รับแรงขับเคลื่อนที่ดีเยี่ยมไปข้างหน้าจากแต่ละ “กรณีใช้งาน” ซึ่งใช้เป็นโมเดลสำหรับโรงงานเคเอสบีและลูกค้าอื่นๆ ทั่วโลก
โรงงานอัจฉริยะหรือโรงงานดิจิทัลคืออะไร และมีความหมายอย่างไรต่อเคเอสบี
โดยทั่วไปแล้ว โรงงานอัจฉริยะ หมายถึง โรงงานผลิตที่ซึ่งกระบวนการหลายอย่างเป็นกระบวนการที่โรงงานดำเนินไปได้เอง ตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อไปจนถึงโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและตั้งแต่การผลิตจนไปถึงการส่งมอบ เครื่องจักรและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะได้รับการเชื่อมต่อถึงกันทางดิจิทัลอย่างอัจฉริยะเข้าด้วยกันผ่านระบบไซเบอร์-กายภาพ (Cyber-Physical System) ตัวอย่างเช่น โรงงานในลักษณะนี้อาจมีตู้ขนส่งที่ใช้เซ็นเซอร์เผื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับรหัสประจำตู้ ตำแหน่งปัจจุบัน และระดับของที่บรรจุอยู่ผ่านระบบสื่อสารวิทยุไปยังซอฟต์แวร์ควบคุมกลาง ซึ่งจะส่งต่อไปยังเครื่องจักรที่ต้องการชิ้นส่วนนั้นในเวลาดังกล่าว ในทางทฤษฎี มนุษย์จะไม่จำเป็นต้องข้องเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเลย
ประโยชน์ของโรงงานอัจฉริยะมีอะไรบ้าง
การปรับให้กระบวนการทำงานอัตโนมัติได้อย่างชาญฉลาดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความยืดหยุ่นได้อย่างมาก และช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดเวลาในการผลิตสินค้าแต่ละชิ้นลง นอกจากนี้ ข้อมูลที่ส่งผ่านจะยังทำให้มั่นใจได้ถึงความโปร่งใสทางดิจิทัลที่ครอบคลุม (ซึ่งจะเป็นแบบเรียลไทม์ในทางอุดมคติ) ซึ่งจะให้ข้อมูลพื้นฐานที่เชื่อถือได้เพื่อทำการตัดสินใจอย่างถูกต้อง เช่น การผลิต การบำรุงรักษาเครื่องจักร โลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ฯลฯ ดังนั้น จึงสามารถปรับการผลิตให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปได้เร็วยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้สามารถทำการปรับแต่งในจำนวนมากได้ ซึ่งจะนำมาสู่ความพึงพอใจของลูกค้าและความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่มากขึ้น
สำหรับภายในองค์กร การปรับให้เป็นดิจิทัลช่วยเพิ่มความพึงพอใจของพนักงานและส่งผลให้มีการรักษาพนักงานไว้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่พนักงานที่มีทักษะกำลังขาดแคลน แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อพนักงานได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มอย่างเป็นระบบ
เคเอสบีกำลังดำเนินการปรับให้เป็นดิจิทัลอย่างเป็นระบบ
การสร้างโรงงานอัจฉริยะเต็มรูปแบบเป็นวิสัยทัศน์ของเคเอสบี และเพื่อทำการนี้ โรงงานที่มีอยู่จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงทีละโรงงาน อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยความแตกต่างในสภาพกรอบการทำงานทั่วโลกและสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ เคเอสบีจึงได้ประเมินโรงงานแต่ละโรงแยกกัน นอกจากนี้ เคเอสบียังผลิตผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งหมายความว่าข้อกำหนดและความท้าทายที่มีก็แตกต่างกันอย่างมากด้วย การผลิตปั๊มหมุนเวียนขนาดเล็กสำหรับห้องใต้ดินมีข้อกำหนดที่ต่างจากการผลิตปั๊มหล่อเย็นสำหรับเตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงงานดิจิทัลเป็นเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่เคเอสบีได้กำหนดไว้และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ร่วมกับโรงงานของเรา ระบบการผลิตแบบพอเหมาะและการปรับให้เป็นดิจิทัลต้องทำงานประสานกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือการผลิตที่ยืดหยุ่นและแยกเป็นส่วนที่มีความเป็นอัตโนมัติสูง ปรับให้เป็นดิจิทัล และเชื่อมเครือข่ายอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อไปจนถึงการวางแผนการผลิตและโลจิสติกส์ นี่เป็นวิธีเดียวที่จะมั่นใจได้ถึงการผลิตที่รวดเร็ว ลดกระบวนการทำงาน และตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุดในอนาคต
จากโครงการนำร่องมาสู่มาตรฐานใหม่: การปรับให้เป็นดิจิทัลตามตัวอย่างของโรงงานปั๊มของเคเอสบีใน Pegnitz
ภารกิจในการเริ่มการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มักพบกับความยุ่งยากอย่างยิ่งในการนำมาปฏิบัติหรือใช้งานจริง เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีการวางแผนเบื้องต้นอย่างครอบคลุมสำหรับโครงการโรงงานดิจิทัลใน Pegnitz ก่อนอื่น การนิยามว่าการเป็น “โรงงานอัจฉริยะ” หรือการเริ่มต้นเปลี่ยนเป็น “การผลิตอัจฉริยะ” แท้จริงแล้วหมายถึงอะไรสำหรับโรงงานเป็นเรื่องสำคัญ ในปี 2018 เคเอสบีได้เริ่มระบุด้านต่างๆที่โรงงานปั๊ม Pegnitz สามารถใช้เป็นโครงการนำร่องสำหรับโรงงานดิจิทัลได้ ทั้งในแง่ของการผลิตและการดูแลจัดการ
“จุดเจ็บปวด (Pain Point)” ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็น “กรณีใช้งาน”
เพื่อให้กระบวนการนี้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ฝ่ายดูแลการปฏิบัติงานระดับโลกของเคเอสบีจึงได้จัดทำการประเมินโรงงานดิจิทัลขึ้น ในการประเมินดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์อย่างแม่นยำถึงจุดเริ่มต้นในปัจจุบันของโรงงาน โดยดูว่าการลดกระบวนการทำงานลงทำได้ถึงที่ใดและมีการปรับให้เป็นดิจิทัลในระดับใดแล้ว ด้วยวิธีนี้ ทำให้สามารถระบุ “จุดเจ็บปวด” ที่ใหญ่ที่สุด ด้านที่มีช่องว่างในการปรับปรุงมากที่สุด และกรณีใช้งานแรกที่เป็นไปได้สำหรับการปรับให้เป็นดิจิทัลได้ โดยทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานในพื้นที่และพาร์ทเนอร์ภายนอก (Neonex) จากนั้นในขั้นตอนต่อไป ทีมจึงได้ร่วมกันพัฒนากลยุทธ์ (โร้ดแมปในการปรับลดกระบวนการทำงานลงและการปรับให้เป็นดิจิทัล)
กระบวนการเริ่มต้นและการนำไปใช้งานเริ่มต้นขึ้นโดยใช้แนวคิดการทำงานแบบว่องไว (Agile Methodology) ในขณะที่โครงการต่างๆในอดีตได้รับการวางแผนอย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ทีมดูแลโครงการนี้นำการใช้งาน หรือที่เรียกว่า “กรณีการใช้งาน” มาใช้ นอกจากนี้ยังมีกำหนดเป้าหมายในแต่ละขั้นสำหรับกรณีการใช้งานเหล่านี้ด้วย มีการจัดทำเวิร์กช้อปที่เรียกว่า “sprints” อย่างสม่ำเสมอ โดยมักเป็นรายสัปดาห์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสถานะในปัจจุบันและกำหนดกระบวนการเป้าหมายใหม่ และด้วย “sprints” สั้นๆ เหล่านี้เองที่ทำให้ทีมสามารถแก้ไขปัญหาในการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและบรรลุเป้าหมายได้ทันกำหนด
ตอนนี้เราอยู่ที่จุดใดแล้ว
กรณีการใช้งานสามกรณีตามแนวคิดการทำงานแบบว่องไวนี้ได้นำไปปรับใช้ที่โรงงาน Pegnitz ในปีแรก ความคืบหน้าในเดือนเมษายน 2023 (ทั่วโลก)
- 19 กรณีการใช้งานนำร่องได้เริ่มขึ้น
- 11 กรณีที่ได้นำไปใช้จริงเรียบร้อยแล้ว
- 52 การนำไปใช้จริงกำลังเริ่มขึ้น
- 29 กรณีการใช้งานนำไปใช้จริงเรียบร้อยแล้ว
กรณีการใช้งานสำหรับการปรับให้เป็นดิจิทัลได้เริ่มต้นอย่างประสบความสำเร็จในโรงงานหลายโรงในประเทศจีน แอฟริกาใต้ ลักเซมเบิร์ก โรงงานทุกแห่งในอินเดีย ในฝรั่งเศส และในเยอรมนี
โอกาสที่ยิ่งใหญ่มาจากความท้าทายที่ยิ่งใหญ่: ข้อคิดในการเรียนรู้สำคัญ 10 ข้อในเส้นทางสู่การปรับให้เป็นดิจิทัล
ระหว่างช่วงการวางแผนและการปรับใช้กรณีการใช้งาน ทีมได้เผชิญกับปัญหาที่ไม่มีใครคาดคิดไว้ก่อนล่วงหน้า การวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้อย่างละเอียดเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ใช้เป็นบทเรียนสำหรับโครงการในอนาคต เราได้ระบุข้อคิดในการเรียนรู้สำคัญสิบข้อสำหรับเคเอสบีไว้ด้านล่างนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกันอย่างแน่นอน
- ควรมุ่งเน้นไปที่ประเด็นเพียงไม่กี่ประเด็น และไม่ควรเริ่มหลายโครงการพร้อมๆ และควรเผื่อเวลาสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้เพียงพอในแผนที่วางไว้
- การจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงไม่ใช้งานที่ทำเสร็จได้ภายในเวลาหนึ่ง แต่เป็นการเดินทางที่มีเฟสต่างๆ ที่มีระยะเวลาต่างกันไป เป้าหมายต่างๆจึงเป็นเพียงเป้าหมายสำหรับช่วงเวลานั้นเท่านั้น
- แนวทางที่เป็นขั้นเป็นตอน มีกระบวนการลดการทำงาน และการไม่แบ่งแยกลำดับชั้น เป็นพื้นฐานของการบริหารโครงการที่ประสบความสำเร็จ
- การตรวจสอบให้มั่นใจถึงการยอมรับและการมีส่วนร่วมของพนักงานที่ได้รับผลกระทบเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง การให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมนั้น จำเป็นต้องใช้เวลาและความพยายามมากกว่าการเริ่มต้นใช้ซอฟต์แวร์ตัวใหม่ในขั้นตอนทางเทคนิค
- จำเป็นต้องมีผู้นำที่ทันสมัย ไม่แบ่งแยก มุ่งเน้นไปที่ทีมและโซลูชัน
- หากไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนเป็นดิจิทัล เราขอแนะนำให้มองหาพาร์ทเนอร์ภายนอก
- ในการนำไปใช้งานจริง มักเป็นเรื่องยากกว่ากทำโครงการนำร่อง แม้จะมีเพื่อนร่วมงานจำนวนมากร่วมในการออกแบบโครงการนำร่อง แต่มุมมองของพวกเขาจะเปลี่ยนไปเมื่อได้รับผลกระทบระหว่างการนำไปปรับใช้จริง
- ไม่ใช่ทุกกรณีการใช้งานด้านการปรับให้เป็นดิจิทัลที่จะสมเหตุสมผลกับทุกกระบวนการผลิต หรือทุกบริษัท ไม่ควรทำการปรับให้เป็นดิจิทัลไปเพียงเพราะต้องการทำ แต่ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับด้วย
- โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ดีเป็นสิ่งสำคัญต่อการปรับให้เป็นดิจิทัลในทุกรูปแบบ
- เมื่อเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในช่วงต้นของโครงการ เคเอสบีพบว่าแนวทางดังกล่าวคำนึงโดยเน้นที่ประเทศแถบยุโรปมากเกินไป ระดับราคาของประเทศนอกยุโรปมีความแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง กรณีใช้งานอาจไม่ได้เป็นแนวทางที่คุ้มราคาในประเทศอื่น เราจึงแนะนำให้มีการกำหนดขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ที่ชัดเจนหรือมีการจัดตั้ง/สร้างทีมเกี่ยวกับการเลือกซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานระดับสากลด้วย
ข้อมูลสรุป
การปรับกระบวนการในโรงงานผลิตให้เป็นอัตโนมัติอย่างชาญฉลาดจะให้ศักยภาพในการปรับปรุงที่สูงอย่างยิ่งในแง่ของประสิทธิภาพและคุณภาพ การลดต้นทุน ความพึงพอใจของลูกค้า และความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่การปรับให้เป็นดิจิทัลควรได้รับการวางแผนอย่างรอบคอบ มีการทำงานร่วมกัน และมีขั้นตอนชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น กระบวนการทำงานที่ลดลง การสนับสนุนทางดิจิทัล และพนักงานที่มีแรงกระตุ้นและมีคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ เรายินดีที่ได้ให้การสนับสนุนคุณด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่เรามีในด้านนี้ อย่าลืมติดต่อกับเราล่ะ